วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552





Second Life โลกเสมือน ชีวิตที่สองบนโลกใบเดิม



Second Life ไม่ใช่เรื่องใหม่ แม้จะยังไม่ฮอตฮิตติดชาร์ทในบ้านเราอย่าง Facebook หรือ twitter ที่ดังเป็นพรุแตกอยู่ ณปัจจุบันนี้ก็ตาม แต่กำลังอินจัด อยู่บนโลกไซเบอร์สเปซ ที่มีจำนวนประชากรว่า 1 ล้านคน และกำลังจะกลายเป็นจุดประกายให้อีกสายพันธุ์ธุรกิจบนโลกใบนี้ได้ตื่นตัวอีกครั้ง พลังแห่ง Second life กำลังถูกสร้างขึ้นโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องจิตนาการ และจะเป็น “พลังที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงชีวิตคน”





Second Life คืออะไร?

by Romeo Arashi





Second Life เป็นซอฟแวร์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นโดยบริษัท Linden Lab มีผู้ก่อตั้งเป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของบริษัท Real Network ยักษ์ใหญ่ในในวงการด้านธุรกิจอินเตอเนทและมัลติมีเดีย Second Life ได้แรงบรรดาลใจมา จากนิยายวิทยาศาสตร์ชื่อดังอย่าง Cyberpunk และ Snow Crash




“จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าโลกและชีวิต ถูกเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลทั้งหมด?”



ข้อมูลมากมาย ทั้งสถบ ดูถูก ยกย่อง ถูกหยิบยกมา จำกัดความ “Second Life” อยู่ในอินเตอเนทเต็มไปหมด บางคนบอกว่ามันก็แค่เกมออนไลน์รูปแบบหนึ่ง, อีกหนึ่งสินค้าไฮเทคที่แหวกแนว, ช่องทางสำหรับขาย cybersex?





แต่นักพัฒนาโปรแกรมหลายคน ก็ยกย่องว่ามันคือ นวตกรรมของอนาคต หรือสิ่งประดิษฐ์ในยุคหน้า นักธุรกิจและนักการตลาดจำนวนมาก มองว่าในอนาคตอันใกล้ มันทางเลือกของการลงทุนและ สื่อโต้ตอบที่ทรงพลังที่สุด



Second Life เป็นโปรแกรมโลกจำลอง 3 มิติซึ่งทุกคนสามารถสมัครเข้าร่วมได้ ขอเพียงคุณมีคอมพิวเตอร์ และอินเตอเนท หลังจากสมัครผ่านเข้าไป คุณจะได้ควบคุม “Avatar” หรือตัวละครหนึ่งตน โดยคุณสามารถ ใช้ avatar ของคุณท่องเที่ยวไปยังโลกของ Second Life พบปะเพื่อนฝูง ช๊อปปิ้ง เที่ยวเล่นเกมหรือทำกิจกรรมต่างๆ ถ้าคุณอยากจะลงหลักปักฐาน ก็หาซื้อที่ดินเพื่อสร้างบ้านหรือเปิดร้านค้าขายสินค้าให้ avatar ตนอื่นๆ

ฟังดูไอเดียอาจจะไม่แตกต่างจากเกมออนไลน์…แต่แก่นแท้ที่ทำให้ Second Life โดดเด่นแตกต่างจากโปรแกรมอินเตอเนททั่วไปก็คือ…




1. ทุกอย่างในโลก Second Life ถูกสร้างจากน้ำมือของผู้เล่นทั้งสิ้น

ทุกๆอย่างในที่นี้ ผมหมายถึง ตึกอาคาร, ถนน, รถยนต์, ยานอวกาศ, เสาไฟฟ้า, ตู้เย็น, ถังขยะ, เสื้อหนาว, รองเท้าส้นสูง, ช้อน/ซ่อม, หรือกระทั่ง “มด” ที่เห็นเดินอยู่ตามพื้นดิน

ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้อย่างไร? …เกิดจากภายในโปรแกรม Second Life ได้ผนวกเอาเครื่องมือ 3 มิติเอาไว้ เพื่อให้ผู้เล่นมีอิสระที่จะสร้างวัตถุหรือสิ่งของใดๆก็ได้ (ตัวอย่างการสร้าง



) ดังนั้นผู้เล่นทุกคน จึงมีสิทธิในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นมาอย่างไร้ขีดจำกัด

ปกป้องทรัพย์สินของคุณ! …ภายใน Second Life ทุกสิ่งที่ถูกคุณสร้างขึ้นจะถูกปกป้องอยู่ภายใต้ IP Rights คงเปรียบเทียบคล้ายกับว่าเป็นกฎหมายลิขสิทธิ์..นั่นคือทุกสิ่งที่คุณสร้างตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคุณ คุณมีสิทธิ์ ที่จะแจกจ่าย หรือขายเพื่อแลกกับเงินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

การให้กรรมสิทธิ์แก่ผู้ใช้งานโปรแกรมในการถือครองสินทรัพย์ดิจิตอลเหล่านี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและ ซื้อขายสินค้า และเกิดวงจรเศรษฐกิจขึ้นมา

2. Second Life นั้นมีสกุลเงินของตัวเอง คือ Linden Dollars (L$)



ซึ่งสามารถแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงิน US Dollars ($USD) ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ ผู้คนใน Second Life จับจ่ายซื้อขายสินค้าโดยใช้เงินสกุลนี้



ประเทศแห่งอนาคต? …ตั้งแต่เริ่มออนไลน์ตั้งแต่ปี 2003 ผู้คนจำนวนมากเริ่มสมัครเข้ามาร่วมสังคมใน Second Life จนปัจจุบันมีผู้เล่นหรือประชากรทะลุ 14 ล้านคน ผนวกกับมีการซื้อขายและทำธุรกิจเป็นวงเงินสูงกว่า 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (ราวๆ 50 สิบล้านบาทต่อวัน) ทำให้ปัจจุบัน Second Life มีระบบเศรษฐกิจที่ซับซ้อน มีค่าเงินที่ผันผวนแทบคล้ายคลึงกับเมือง หรือประเทศในโลกจริงๆ




ปัจจุบันค่าเงิน L$ ตกอยู่ที่ประมาณ L$200-300 ต่อ $1 USD (หนึ่งดอลลาร์สหรัฐ) ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเงิน L$



















ด้วยสองสาเหตข้างต้น ทำให้





Second Life แตกต่างจากโปรแกรม 3 มิติอื่นๆ และพัฒนาความสมจริงขึ้นไปมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกของ Second Life มีทุกอย่างที่ตอบสนองความต้องการของประชากรในนั้น มันเป็นทั้งสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน, เมืองแห่งธุรกิจ, สวนสนุกที่เต็มไปด้วยเกมหลากหลาย แม้กระทั่งผับ บาร์ใต้ดินซึ่งอาจไม่เหมาะกับผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ (Second Life จำกัดผู้เล่นที่อายุต่ำกว่า 18 ปีจะเข้าไปในสถานที่บางแห่งที่ไม่สมควรไม่ได้)

คำจำกัดความของ Second Life ยังคงคลุมเครือ เพราะไม่มีนักวิเคราะห์คนไหนที่จะกล้าฟันธงได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะพัฒนาไปถึงขั้ืนไหน บางคนมองว่ามันเป็นเพียงกระแสความเห่อที่จะจางหายไปในไม่ช้า แต่บางคนวาดฝันว่ามันอาจจะพัฒนาความสมจริงไปถึงขั้นที่ภาพยนต์ไซไฟชื่อดังอย่าง The Matrix เคยปูทางเอาไว้

เรียนรู้ด้วยตัวคุณเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น