วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

คลังคำ (ต่อ)

คลังคำ (ต่อ)
“Disruptive Innovation” and Innovation Disruption
          
           จากแนวคิดเดิมที่องค์กรส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นบริหารจัดการที่ดีและมีความต่อเนื่องสม่ำเสมอ แต่สิ่งนี้เองที่กลับกลายมาเป็นปัจจัยในความล้มเหลวขององค์กร เพราะเป็นสิ่งที่องค์กรทั้งหลาย “ยึดติด” เป็นแนวทางหลักในการดำเนินกิจการ ไม่ว่าจะเป็นการยึดติดในกลุ่มลูกค้าเดิมที่สร้างรายได้ให้กับบริษัท หรือ จะเป็นการยึดติด ในตัวสินค้าและบริการ ที่ทำเงินมหาศาลให้กับบริษัท ทำให้บริษัทไม่ได้โฟกัสไปที่การสร้างสินค้าและบริการที่แปลกใหม่ แต่กลับใช้วิธีการพัฒนาต่อยอดสินค้าและบริการเดิมๆแทนซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ได้กลายเป็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญสำหรับองค์กรใหม่ๆ หรือ บริษัทขนาดเล็ก ที่สามารถคิดค้นสินค้าและบริการที่มีนวัตกรรมแปลกใหม่ ที่เรียกว่า “Disruptive Innovation” เข้าแข่งขันกับผู้นำตลาดโดย Innovation Disruption จะเป็นกระบวนการที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอันสร้างความเติบโตให้กับองค์กรธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยอาศัยการใช้นวัตกรรมและการสร้างความแตกต่างจากผู้นำตลาด มาเป็นเครื่องมือผลักดัน และสามารถแบ่งได้เป็โดยแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

          Incremental เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ ค่อยเป็น ค่อยไปและ
          Radical เป็นการดึงดูดทำให้มีของใหม่ เพื่อให้เกิดสภาวะอุสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลง เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มีราคาสูง

         ซึ่งเป็นทฤษฏีใหม่ที่ ภาคอุสาหกรรมเกิดขึ้นได้ยาก มักจะต้องอาศัยภาคการศึกษาและภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องกันและพลักดันโดยสามารถแบ่งได้ดังนี้ ภาครัฐจะเป็นการกำหนดนโยบายและภาคการศึกษาจะเป็นการทำ R&Dโดยเมื่อมีการค้นพบไม่ว่าจะเป็น ทั้งProduct & Process Innovation และป้อนให้ภาคอุสาหรรมสามารถนำมาใช้ และ ออดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เข้าสู่วงจรผลิตภัณฑ์ โดยดูจาก S-Curve ที่ภาคอุสาหกรรมต้องพยายามต่อเส้น S-Curve เส้นใหม่ที่ตัดกับเส้นเดิม ซึ่งจุดที่ตัดจเรียกว่า New Product Develop Phase โดยการสร้าง S-Curve ใหม่นั้นภาคอุสาหกรรมพยายามเพิ่มการมีส่วนร่วมทางเทคโนโลยี เข้าไปอยู่ที่ตัวสินค้า เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น ซึ่งสภาวะการสร้าง S- Curve เส้นใหม่ที่ภาคอุสาหกรรม ณ ปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจระหว่างองค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละองค์กรได้นำกลยุทธ์ต่าง ๆ ออกมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่องค์กรได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยีใหม่ทำให้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมนั้นหายไปและส่งผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นี่คือคำจำกัดความของ Technological Disruption
   
           ดังนั้นผู้จัดการด้านเทคโนโลยีและผู้นำองค์กร ควรมีความเข้าใจถึงปรากฏการณ์และกลไกพื้นฐานของการเกิด Disruption และสามารถนำเอา Disruptive Technology / innovation ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีที่มีคุณลักษณะเด่นพิเศษที่สามารถมาแทนที่เทคโนโลยีเดิมโดยส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับองค์กรได้ เมื่อเทียบกับประเด็นจาก “Shocking Facts” ทำให้ทราบได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในโลกของเราเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยที่เรายังมะทันรู้ตัว จึงควรต้องหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิ่งใหม่ตลอดเวลาเพื่อให้เป็น Creative Destruction ที่จะเป็นการทำลายอย่างสร้างสรรค์หรือการทำลายโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ แนวความคิดเบื้องหลังทฤษฎีของCreative Destruction คือ ความต้องการของผู้ซื้อ หรือสภาพการณ์ในการตลาดย่อมจะเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดนิ่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งโดยตลอด และในยุคปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจระหว่างองค์กรในทุกภาคอุตสาหกรรมนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ละองค์กรได้นำกลยุทธ์ต่าง ๆ ออกมาใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่องค์กรได้ให้ความสำคัญ เนื่องจากการเข้ามาแทนที่ของเทคโนโลยีใหม่ทำให้เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมนั้นหายไปและส่งผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง นี่คือคำจำกัดความของ Technological Disruption

          ดังนั้นผู้จัดการด้านเทคโนโลยีและผู้นำองค์กร ควรมีความเข้าใจถึงปรากฏการณ์และกลไกพื้นฐานของการเกิด Disruption และสามารถนำเอา Disruptive Technology / innovation ซึ่งหมายถึง เทคโนโลยีที่มีคุณลักษณะเด่นพิเศษที่สามารถมาแทนที่เทคโนโลยีเดิมโดยส่งผลให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจสำหรับองค์กรได้ ทั้งนี้ขอยกตัวอย่างเกี่ยวกับปรากฏการณ์และกลไกของการเกิด Technological Disruption โดยยกตัวอย่างของกล้องดิจิตอลมาเป็นกรณีศึกษา ซึ่งการพัฒนาของกล้องดิจิตอลนั้นถือเป็นกรณีศึกษาตัวอย่างของ Disruptive Technology / innovation ที่ชัดเจนในรูปแบบหนึ่งของการแทนที่ด้วยเทคโนโลยีใหม่แล้วส่งผลทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในช่วง 5-7 ปีที่ผ่านมากล้องดิจิตอลได้เข้ามาแทนที่กล้องฟิล์มในตลาดผู้บริโภคได้เกือบทั้งหมด โดยเริ่มจากในปีค.ศ.1994 ที่บริษัท Apple ได้นำกล้องดิจิตอลตัวแรกออกมาวางขายในท้องตลาดซึ่งในช่วงแรกมีการตอบรับจากตลาดอยู่ในกรอบที่จำกัดแต่เนื่องจากการเทคโนโลยีของกล้องดิจิตอลที่มีอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งคุณสมบัติของเทคโนโลยีในกล้องดิจิตอลเป็นที่ยอมรับสำหรับกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ และในที่สุดก็ทดแทนกล้องถ่ายรูปฟิล์มได้เต็มรูปแบบดังที่ดูได้จากยอดขายของกล้องดิจิตอลที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว สวนทางกับยอดขายของกล้องฟิล์มที่มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ และในปัจจุบันแทบจะไม่เหลือกล้องฟิล์มวางขายในตลาดแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น